top of page
รูปภาพนักเขียนGolf : TNT

ข้อควรรู้!! ก่อนจัดกระเป๋าเดินทางถือขึ้นเครื่อง




ข้อที่ต้องรู้ก่อนเริ่มจัดกระเป๋า

 

คำนวณน้ำหนักกระเป๋าแบบยังไม่ใส่อะไรเพิ่มก่อน

เราควรต้องรู้ก่อนว่าเฉพาะตัวกระเป๋าเดินทางใบที่จะใช้งานนั้นมีน้ำหนักเท่าไร เพื่อคำนวณน้ำหนักที่เหลือสำหรับเสื้อผ้าข้าวของอื่นๆ ว่าจะสามารถใส่เพิ่มได้อีกเท่าไร แน่นอนว่ายิ่งกระเป๋าหนักจะยิ่งทำให้เราใส่ของได้น้อย ดังนั้นควรเลือกกระเป๋าทีมีคุณภาพที่ดีและมีน้ำหนักเบาจะดีที่สุด

ข้อแรกที่ต้องคำนึงถึงก่อนเลยคือขนาดของกระเป๋าถือขึ้นเครื่อง ต่อให้น้ำหนักไม่เกินแต่กระเป๋าขนาดใหญ่เกินที่กำหนด ก็อาจจะไม่สามารถนำขึ้นเครื่องได้ และอาจจะต้องซื้อน้ำหนักสัมภาระโหลดในตอนเช็กอิน ซึ่งจะมีราคาสูงกว่าปกติ ดังนั้นเราจึงควรตรวจสอบขนาดกระเป๋าที่สายการบินอนุญาตก่อน ส่วนใหญ่หลายสายการบินก็กำหนดขนาดตามมาตรฐานมีขนาดใกล้เคียงกัน อาจมีบางสายการบินที่แตกต่าง จึงขอแนะนำให้ตรวจสอบกับเว็บไซต์สายการบินที่ท่านทำการจองตั๋วไปหรือกดอ่านได้จากบทความนี้



ถือกระเป๋าขึ้นเครื่องได้กี่ใบ

สามารถนำกระเป๋าขึ้นเครื่องได้ไม่เกิน 2 ใบ และทั้งสองใบนั้นจะต้องมีน้ำหนักรวมกันไม่เกิน 7 กิโลกรัม  ในบางสายการบิน เช่นสายการบินฟลูเซอร์วิสอาจกำหนดไว้มากสุดคือ 10 กิโลกรัม ซึ่งกระเป๋าใบที่สองที่เรานำขึ้นไปนั้นสามารถเป็นได้ทั้งกระเป๋าโน้ตบุ๊ค หรือกระเป๋าพกพาทั่วไป โดยต้องมีขนาดตามที่สายการบินกำหนดไว้


ก่อนการจัดกระเป๋า ควรเรียนรู้ข้อจำกัดเรื่องสิ่งต้องห้าม ที่ห้ามนําขึ้นเครื่องบินโดยเด็ดขาด 7 สิ่ง ถ้ามั่นใจว่ากระเป๋าเดินทางของเราไม่มีสิ่งของต้องห้าม และไม่มีอะไรที่ขัดต่อกฏของการ ขึ้นเครื่องบิน เพียงเท่านี้การเดินทางของเราก็ถือว่าเริ่มต้นได้ดีแล้ว สนุกได้อย่างเต็มที่ และสบายใจตลอดทั้งทริป



ขนาดกระเป๋ามาตรฐาน


ของเหลวขึ้นเครื่องหมายถึงอะไรบ้าง

การนำของเหลวขึ้นเครื่องบินก็คือ ของในกระเป๋าสัมภาระประเภทของเหลว, เจลหรือสเปรย์ ที่มีกำหนดข้อห้ามในแต่ละสายการบินกำหนดไว้ ว่าเราสามารถนำขึ้นเครื่องบินได้หรือไม่ ซึ่งของเหลวขึ้นเครื่องมีอะไรบ้างดูตามนี้ได้เลย

  • อาหารที่เป็นของเหลวอย่าง เครื่องดื่ม, น้ำซุปหรือซอสต่างๆ

  • เครื่องสำอางประเภทครีม, โลชั่น, น้ำหอมและน้ำมัน

  • สเปรย์, โฟมหรือสิ่งที่ต้องฉีดพ่น

  • ของใช้ที่เป็นเจล เช่น ยาสีฟัน, ยาสระผมหรือเจลอาบน้ำ

  • สิ่งที่มีส่วนผสมของแข็งกับของเหลว เช่น มาสคาราหรือลิปกลอส

 

การนำของเหลวขึ้นเครื่องบินจะมีข้อกำหนดว่า จะต้องมีความจุของเหลวขึ้นเครื่อง 100 ml พอดีต่อชิ้น สามารถนำไปได้มากกว่า 1 ชิ้น แต่ต้องมีปริมาตรรวมกันสูงสุดไม่เกินคนละ 1,000 มล. และต้องใส่รวมไว้ในถุงพลาสติกซิปล็อกใส เพื่อให้ง่ายแก่การตรวจสอบ


ของเหลวที่ได้รับการยกเว้น ได้แก่ ยารักษาโรคที่จำเป็นมีลักษณะเป็นของเหลว, อาหารสำหรับทารกในรูปแบบของเหลวหรือน้ำนมแม่ในถุงบรรจุน้ำนมในปริมาณที่เหมาะสม สิ่งเหล่านี้สามารถพกพาขึ้นเครื่องเกินปริมาณได้ แต่ของเหลวขึ้นเครื่องแบบข้อยกเว้นนี้ ก็ต้องผ่านการตรวจค้นและการตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่รวมถึงยาต้องมีเอกสารกำกับชัดเจนก่อนด้วยถึงจะนำขึ้นเครื่องได้


ของเหลว เจล และสเปรย์ ที่ซื้อจากร้านค้าปลอดภาษี (Duty free shops) ที่ท่าอากาศยานต้องบรรจุในถุงพลาสติกใสปิดผนึกปากถุง Security Tamper-Evident Bag ในสภาพที่ปิดสนิท ไม่มีร่องรอย การเปิดปากถุง สินค้าดังกล่าวต้องเป็นสินค้าปลอดภาษีจากประเทศต้นทางเท่านั้น และต้องมีหลักฐานการซื้อแนบไว้ ทั้งนี้ เพื่อนำไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ ณ จุดตรวจค้น อย่างไรก็ตามแต่ละประเทศจะมีกฎ การนำของเหลว ขึ้นเครื่องแตกต่างกัน ผู้โดยสารควรสอบถามจากสายการบินที่จะเดินทางให้ชัดเจนก่อนที่จะซื้อสินค้า



ปริมาณของเหลวขึ้นเครื่องบิน



Power Bank นำขึ้นเครื่องบินได้กี่ก้อน

การขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ หรือ ไออาตา (IATA) มีกฎมาตรฐานความปลอดภัยเกี่ยวกับการนำแบตเตอรี่ขึ้นเครื่องบินไว้ว่า ห้ามนำ Power Bank (แบตเตอรี่สำรอง) ใส่กระเป๋าเดินทางโหลดใต้เครื่อง แต่สามารถใส่กระเป๋าถือขึ้นเครื่องได้ โดยแบตเตอรี่สำรองที่ไม่ระบุพลังงานไฟฟ้าหรือระบุไว้แต่เลือนราง ไม่สามารถนำขึ้นเครื่องได้ ถ้าจะนำแบตเตอรี่สำรองขึ้นเครื่องบิน ต้องเป็นไปตามเงื่อนไข ดังนี้

 

  1. Power Bank ต้องมีตัวเลขระบุพลังงานไฟฟ้าชัดเจน

  2. Power Bank ความจุไฟฟ้า 20,000 mAh (หรือน้อยกว่า 100 Wh) นำขึ้นเครื่องได้ไม่ระบุจำนวน บางสายการบินระบุว่า ไม่เกิน 20 ก้อน หรือ ตามความเหมาะสม  อย่างไรแล้วให้ดูประกาศของแต่ละสายการบินเป็นหลัก

  3. Power Bank ความจุไฟฟ้า 20,000 - 32,000 mAh (100- 160 Wh) นำขึ้นเครื่องได้ไม่เกิน 2 ก้อน

  4. Power Bank ความจุไฟฟ้ามากกว่า 32,000 mAh (หรือมากกว่า 160 Wh) ไม่ได้รับอนุญาตให้นำขึ้นเครื่อง

 


แบตเตอรี่สำรอง นำขึ้นเครื่องได้กี่ก้อน


ข้อควรสังเกตอีกอย่าง ที่ตัว Power Bank ควรมีตัวเลขระบุความจุอย่างชัดเจน ดังนั้นก่อนนำ Power Bank ออกเดินทาง โปรดสังเกตว่า Power Bank ของคุณมีตัวเลขบอกอย่างชัดเจนหรือไม่ หากไม่มีระบุ ไม่ชัด เลือนราง ไม่สามารถบ่งชี้ความจุไฟฟ้าได้ เจ้าหน้าที่อาจพิจารณาไม่ให้นำขึ้นเครื่อง





Comments


bottom of page